แนะนำวิธีการเลือก“รองเท้ากีฬา” ที่ใช่สำหรับคุณ
Cr.ภาพจาก:pixabay.com โดย MBatt
หลายปีมานี้เทรนด์การรักสุขภาพเป็นที่นิยมมากขึ้น ทำให้หลายคนหันมาออกกำลังกายมากขึ้นด้วยเช่นกัน และหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการออกกำลังกายคือ “รองเท้ากีฬา” นั่นเองค่ะ เพราะรองเท้ากีฬาจะช่วยในการลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บเวลาออกกำลังกายได้ดีกว่ารองเท้าทั่วไปในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การเลือกรองเท้าให้เหมาะกับการออกกำลังกาย จึงเป็นเรื่องสำคัญที่มือใหม่ที่เพิ่งหันมาออกกำลังกายอย่างจริงจังซึ่งวันนี้เราก็มีวิธีการเลือก “รองเท้ากีฬา” ที่เหมาะสมมาฝากกันค่ะ
แต่ก่อนจะไปสู่ขั้นตอนการเลือกเราขอชวนทุกมารู้จักกับรองเท้ากีฬาแต่ละแบบกันก่อนค่ะ ซึ่งรองเท้ากีฬา หลายคนอาจอาจคิดว่าเหมือนๆหมด แต่รองเท้ากีฬาแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดดังนี้ค่ะ
- Running Shoes หรือ รองเท้าที่ใช้สำหรับวิ่งและใส่ในฟิตเนสค่ะ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้อีก 4 ประเภท ด้วยกันคือ
![]() |
Cushioned Running Shoes รองเท้าชนิดนี้จะช่วยในการกระจายแรงลงสู่พื้นและการลดแรงสะท้อนกลับมาสู่บริเวณข้อเท้า ใส่แล้วสามารถกระจายน้ำหนักการวิ่งลงไปสู่พื้นได้ดี ดูดซับแรงสะท้อนกลับมาสู่ข้อเท้า ช่วยป้องกันการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้าค่ะ เหมาะกับผู้ที่มีรูปเท้าปกติและลงน้ำหนักที่กลางเท้า สามรถใช้ได้กับทุกสภาพพื้นผิวสนาม เพราะฉะนั้นรองเท้าชนิดนี้จึงสามารถใส่ได้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยค่ะ โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานแบบเดินไปมาตลอดทั้งวัน หรือยืนนานๆ จะช่วยลดอาการเมื่อยล้า ลดอาการบาดเจ็บ และสามารถวิ่งหรือเดินได้นานขึ้นเนื่องจากลักษณะพื้นมีความนุ่ม เด้ง ไม่แข็งกระด้างนั่นเองค่ะ Cr.ภาพจาก:nike.com |
Motion Control Running Shoes คือ รองเท้าที่ลดแรงกระแทกมาสู่ข้อเท้าและชะลอการ Cr.ภาพจาก:hoka.rev.co.th |
![]() |
|
Lightweight Running Shoes รองเท้าชนิดนี้จะมีน้ำหนักเบา มีความมั่นคง ความนุ่มและเด้งน้อยค่ะ เนื่องจากมีน้ำหนักเบาและพื้นรองเท้ามักจะบาง ส่วนใหญ่รองเท้าประเภทนี้ จะถูกออกแบบมาเพื่อให้ดันตัวไปด้านหน้าตลอดเวลา สังเกตุได้จากรองเท้าจะหัวเชิด ในส่วนของพื้นรองเท้านั้นด้านที่เป็นส้นรองเท้าจะสูงกว่าส่วนอื่น จะมีส้นรองเท้าจะสูงกว่าส่วนอื่น เหมาะ สำหรับผู้ที่ชอบการวิ่งทำความเร็ว วิ่งมาราธอน Cr.ภาพจาก: saucony.com |
Stability Running Shoes คือ รองเท้าที่เน้นการกระจายแรง ดูดซับแรงกระแทก ลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเท้า มีส่วนแกนพื้นรองเท้ากันการพลิกของเท้า มี Arch support ส่วนเสริมอุ้งเท้าให้มั่นคงและแข็งแรง มี Heel lock ส่วนเสริมความมั่นคงของส้นเท้าด้านหลัง มีความนุ่มและเด้งของพื้น กล่าวคือเป็นรองเท้าที่รวมทั้ง Cushioned ในส่วนพื้น และ Motion control ในส่วนบน รองเท้าประเภทนี้เหมาะสำหรับคนที่มีรูปเท้าปกติ แต่ต้องการความมั่นคงในการวิ่ง |
- Court Shoes เป็นรองเท้าสำหรับการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาในคอร์ต เช่น แบดมินตัน เทนนิส บาสเกตบอล
ซึ่งรองเท้าจะออกแบบเพื่อให้มีการรองรับการเคลื่อนไหวของเท้าในทิศทางต่างๆ ส่วนพื้นรองเท้ามักจะมีส่วนเว้าส่วนโค้งโดยรอบ เพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวทั้งในทิศทางต่างๆ เช่น ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งพื้นรองเท้าจะสามารถยึดเกาะได้ดี สามารถหยุดกะทันหัน รองเท้าชนิดนี้ไม่ค่อยจะดูดซับแรงกระแทก จะเน้นความเบาและการเคลื่อนที่เป็นหลัก
Cr.ภาพจาก: nike.com/th
- Field Shoes คือ รองเท้าเฉพาะกีฬา ซึ่งใส่เฉพาะการเล่นกีฬาแต่ละประเภท เช่น รองเท้าเตะฟุตบอล รองเท้าวิ่งตะปู รองเท้ากอล์ฟ รองเท้าวิ่งเทล เป็นต้น โดยจะออกแบบมาเพื่อให้รองรับกับกิจกรรมที่ทำ ยึดเกาะพื้นแต่ละประเภท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเล่นกีฬา
Cr.ภาพจาก:newbalance.com
ส่วนประกอบของรองเท้า
- Upper คือ วัสดุชั้นนอกสุดของรองเท้า ส่งผลต่อน้ำหนัก การระบายอากาศ ความยืดหยุ่น และความสามารถในการกันน้ำ เช่น ผ้า ผ้ายืดหยุ่น หนังแท้ หนังสังเคราะห์ พลาสติกสังเคราะห์กันน้ำ เป็นต้น
- Outsole เป็นส่วนของพื้นรองเท้าด้านล่างที่สัมผัสกับพื้น ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นยางที่มีความทนทาน ยึดเกาะพื้นแต่ละประเภทได้ดี
- Insole เป็นส่วนแผ่นพื้นรองเท้าด้านในที่สัมผัสกับเท้า บางรุ่นสามารถถอดได้ บางรุ่นไม่สามารถถอดได้ ซึ่งแต่ละรุ่นอาจมีคุณสมบัติต่างกัน เช่น มี Air ในแผ่นรอง มี Arch support ยกอุ้งเท้า หรือมีเทคโนโลยีกำจัดกลิ่น
- Midsole เป็นส่วนของรองเท้าที่อยู่ระหว่าง Outsole และ Insole เป็นส่วนที่จะช่วยควบคุมการทรงตัว ลดแรงกระแทก และป้องกันการบาดเจ็บต่างๆ จากการวิ่ง ซึ่งส่วนนี้มีหลายชนิด และมีคุณสมบัติต่างกัน เช่น พื้นโฟม React Boost Zoom พื้น Air พื้น Gel เป็นต้น
รู้จักรองเท้าแต่ละแบบแต่ละชนิดกันไปแล้ว ทีนี้ถึงคำแนะนำเพื่อใช้ประกอบการเลือกรองเท้ากันค่ะ
- อันดับแรกคุณต้องถามตัวเองก่อนว่าจะซื้อรองเท้ามาเพื่อออกกำลังกายประเภทไหน เช่น วิ่ง ฟิตเนส วิ่งเทรล ตีแบด ตีกอล์ฟ เป็นต้น ต้องเลือกรองเท้าให้ถูกประเภทของการออกกำลังกายก่อนอันดับแรก เพราะถ้าเลือกใส่รองเท้าผิดประเภท ก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บระหว่างการออกกำลังกายได้
- เลือกรองเท้าโดยดูจากความยาวของเท้า โดยวัดเป็นเซนติเมตร เนื่องจากขนาดของรองเท้าแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นจะไม่เท่ากัน เวลาบอกความยาวเท้าให้บอกเป็นเซนติเมตร โดยวัดจากปลายนิ้วโป้งจนถึงส้นเท้า
- ส่วนความกว้างวัด ก็วัดจากส่วนที่กว้างที่สุดของเท้า
- ลองใส่เดินแล้วรู้สึกสบาย ไม่คับ หรือหลวมจนเกินไป โดยปกติแล้วถ้าเลือกรองเท้าวิ่งที่ Upper ทำจากผ้าที่มีการขยายตัว ควรเลือกขนาดให้พอดีเท้า แต่ถ้าเป็นพลาสติกสังเคราะห์ หรือหนังสังเคราะห์ ควรเลือกเผื่ออีก 1 ไซส์
- คนที่เท้าแบน แนะนำให้ใช้รองเท้าที่มีการรองรับข้อเท้า ตัวรองเท้าจะต้องมีตัวรองรับอุ้งเท้าขึ้น เพื่อลดการเจ็บฝ่าเท้า และทำให้ข้อเท้าพลิกได้ยาก ซึ่งแผ่นรองรับอุ้งเท้านี้ รองเท้าบางรุ่นก็ทำมาเลย หรือสามารถซื้อเฉพาะแผ่นรองรับอุ้งเท้ามาใส่เสริมในรองเท้าก็ได้
และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเล็กๆน้อยสำหรับคนที่กำลังอยากได้รองเท้าสักคู่เอาไว้ออกกำลังกาย แต่ไม่รู้จะเลือกอย่างไร ก็ลองเอาไปปรับใช้กันดูได้นะคะ หวังจะช่วยให้ท่านผู้อ่านได้บ้างนะคะ เอาล่ะค่ะกายพร้อม ใจพร้อม ไปเลือกรองเท้าแล้วไปออกกำลังกายกันค่ะ
ที่มา: thaitextile.org