ส่องเทรนด์เทคโนโลยีอุตสาหกรรมแฟชั่น 2023
ภาพจาก:www.thaitextile.org
อุตสาหกรรมแฟชั่นนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ก็ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างผลกระทบกับโลก สูงสุดไม่แพ้ใครเช่นกันทั้งในแง่ของแรงงานหรือสิ่งแวดล้อมเองก็ดี แต่อย่างไรผู้บริโภคก็ยังมองหาสินค้าที่ดีอยู่และอุตสาหกรรมก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป ดังนั้นแล้วการพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมวงการแฟชั่นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น จึงได้มีการรวบรวมรายการความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่สำคัญ ๆ ในวงการแฟชั่นในปัจจุบันดังนี้
1. เทคโนโลยี โทรศัพท์เคลื่อนที่
หลายคนอาจจะเห็นหัวข้อนี้แล้วรู้สึกว่าแค่มือถือเนี่ยนะ แสนจะเบสิค สมาร์ทโฟนมีมานานแล้ว แต่ถ้าทุกคนสังเกตข้อที่ว่ามือถือสมัยนี้แข่งกันออกรุ่นใหม่ๆอยู่เสมอ และในทุกการเปิดตัวใหม่นั้นมาพร้อมกับเทคโนยีใหม่เพิ่มมาด้วยเสมอ รวมถึงเทคโนโลยีที่เอื้อแก่การช้อปปิ้งออนไลน์ ไปจนถึงกระเป๋าเงินอัจฉริยะ ธุรกิจซื้อขายออนไลน์จึงเป็นสุดยอดของเครื่องมือเทคนิค ซึ่งไม่เพียงแต่มีผลต่อชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในสาขาที่โตเร็วที่สุดในสาขาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย และการช้อปปิ้งผ่านเจ้ามือถือเครื่องน้อยในมือก็ช่างง่ายดายมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นการจ่ายเงินที่เป็นที่ชื่นชอบสำหรับซื้อสินค้าขายปลีก ความจริงแล้ว จากข้อมูลของ BigCommerce สองในสามของผู้ที่อยู่ในเจเนอเรชั่น millennials ต้องการซื้อสินค้าออนไลน์มากกว่าซื้อจากร้าน
นอกเหนือจากการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หากเรานับสื่อสังคมออนไลน์ (เช่น การช้อปปิ้งของ Instagram) แบรนด์ต่าง ๆ ก็อาจอยู่ในช่องที่เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า พร้อมพาณิชย์ดิจิทัลที่บูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เห็นได้ดีขึ้น และมีโอกาสขายได้ดีขึ้นเช่นกัน
2. เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence)
สำหรับ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence หรือที่คุ้นหูกันดีในชื่อ AI ซึ่ง ปัจจุบันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าไปในเว็บไซด์ของแบรนด์แฟชั่นแล้วไม่พบเทคโนโลยีแช็ท AI ซึ่งช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า
ซึ่งเทคโนโลยี AI ก็คือ อัลกอริธึมที่สืบหาการเดินทางของลูกค้าที่ตรงกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการ ถึงแม้เครื่องมือการให้บริการทางเทคโนโลยีของลูกค้าจะมีอนาคตสดใส แต่การพยากรณ์แนวโน้ม และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานก็เป็นช่องทางที่สำคัญมากสำหรับ AI เช่น การสืบค้นสินค้าคงคลังตามเวลาจริง (real time) กลายมามีความสำคัญสำหรับแบรนด์ต่าง ๆ เพราะช่วยประหยัดเวลาและทำให้การบริหารจัดการคลังสินค้าและการดำเนินการมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ หากเรารวมการสืบค้นสินค้าคงคลังเข้ากับเครื่องมือการพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของ AI เพื่อพยากรณ์เทรนด์ แบรนด์ก็จะมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมีนัยสำคัญ แทนที่จะพึ่งวิธีดั้งเดิมในการพยากรณ์เทรนด์แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งต้องใช้ทั้งการสังเกตและการเก็บข้อมูลจากนักออกแบบแฟชั่น ผู้เสนอเทรนด์ และอินฟลูเอนเซอร์ ทั้งนี้ แบรนด์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที ซึ่งทำให้สามารถวางแผนสไตล์และจำนวนที่ถูกต้องในเวลาอันรวดเร็ว
3. เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR) และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality หรือ AR)
เป็นเทคโนโลยีแห่งการผสานโลกกายภาพและโลกออนไลน์ของการค้าปลีก เป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นที่น่าตื่นเต้นมากที่สุดของโลกเสมือนจริง รวมทั้งในอุตสาหกรรมแฟชั่นเช่นกันค่ะ ซึ่งบทบาทของเจ้าเทคโนโลยี VR ที่หลายแบรนด์หยิบมาใช้แพร่หลายอย่างหนึ่ง คือ การช่วยให้ลูกค้าลองเสื้อทางโลกเสมือนจริง ซึ่งช่วยให้มีความแม่นยำมากขึ้น จากการวัดตามขนาดของลูกค้าและใช้เทคโนโลยี AR ซึ่งหมายความว่า ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่รู้สึกว่าเคยลองมาแล้ว
ประสบการณ์การชอปปิ้งออนไลน์ประเภทนี้ ดึงลูกค้าให้อยู่ได้นานกว่า เพราะลูกค้าต้องการเห็นผลิตภัณฑ์บนตัวเองก่อนซื้อ รวมถึงยังสามารถแชร์ต่อในสื่อออนไลน์ได้แล้วด้วยยิ่งน่าสนใจและดึงดูดลูกค้าเพิ่มขึ้นได้อีกโขเชียวล่ะ
4. เทคโนโลยี ผ้าผืนชนิดใหม่ ๆ (Novel fabrics)
สำหรับเทคโนโลยีผ้าผืนชนิดใหม่ ๆนั้นถือเป็นอนาคตของวงการแฟชั่น เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้นักออกแบบโดดเด่นขึ้นมาและเป็นทางเลือกด้านความยั่งยืน
ข้อมูลทุกอย่างนำไปสู่ความเห็นที่ว่า หนังเทียม (eco-leather) ไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม บริษัทสตาร์ทอัพ เช่น Modern Meadow กำลังต่อสู้กับเรื่องนี้ โดยการผลิตหนังที่เติบโตจากห้องแลบ โดยไม่ทำอันตรายสัตว์ และบริษัทต่างๆ เช่น Bolt Threads และ EntoGenetics ก็กำลังคิดค้นนวัตกรรมไหมทำจากแมงมุมที่มีความแข็งแรงสูง การมีปฏิสัมพันธ์ล่าสุดในวัตถุพิมพ์ที่สามารถเปลี่ยนสี ได้แก่ระบบที่คิดค้นโดยนักวิจัยของสถาบัน MIT เรียกว่า ColorFab 3D ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวพิมพ์วัตถุด้วยการพิมพ์สามมิติ โดยใช้หมึก photochromic inks ที่เปลี่ยนสีเมื่อสัมผัสกับความยาวคลื่นบางชนิดของแสงยูวี หนึ่งในสินค้าที่ผลิตครั้งแรก คือ แหวนที่สามารถตั้งโปรแกรมให้มีสีตามที่ลูกค้าต้องการ
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ แฟนของ Google อาจได้สวมใส่เสื้อผ้าทำจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดย Project Jacquard เป็นโครงการจากห้องแลบด้าน ATAP (Advanced Technology and Projects) ของ Google เป็นคอลเลคชั่นเส้นด้ายที่เอื้อต่อการนำไปทอสิ่งทอที่ตอบสนองต่อการสัมผ้ส (touch-responsive textiles) เช่น เสื้อผ้า ผ้าปูโต๊ะ พรม หรือทุกสิ่งที่ทำจากผ้าผืน ทีมงานเบื้องหลัง Project Jacquard ยังทำให้การเปลี่ยนสีมีความเป็นไปได้อีกด้วย Ebb ซึ่งเป็นเทคโนโลยีผ้าผืนที่เปลี่ยนสี ที่วันหนึ่งอาจถูกโปรแกรมให้เปลี่ยนอารมณ์ของลูกค้า วัสดุของ Ebb ยังช่วยให้ทำกิจกรรมต่างๆ มากมายที่ปัจจุบันทำบนโทรศัพท์ โดยการใช้สัญญาณสีแทน เช่น เมื่อได้รับสายเข้าบนโทรศัพท์ สีของกระดุมข้อมือเสื้อจะเปลี่ยนไป เป็นต้น
เทคโนโลยีข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ผ้าผืนชนิดใหม่ ๆ ได้เปลี่ยนแปลงเสื้อผ้าที่สวมใส่ทุกวัน และผ้าผืนชนิดใหม่ ๆ ที่ผุดขึ้นมาจากร้านบูติกต่าง ๆ ทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าเทรนด์เทคโนโลยีดังกล่าวกำลังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง
5. การพิมพ์สามมิติ (3D Printing)
นับว่าตั้งแต่ที่เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เกิดขึ้นมา ก็ได้รับความสนใจจากแบรนด์หลายรายทั้งเล็กและใหญ่ไม่น้อย หลายรายใช้การพิมพ์ 3 มิติในคอลเลคชั่นของปี 2022 ถึงแม้จะใช้เวลาหลายชั่วโมงในการผลิต แต่ก็ทำให้มีของเสียน้อยลงและใช้แรงงานเข้มข้นน้อยกว่าการผลิตประเภทอื่น การพิมพ์เสื้อผ้าตามสั่งจะช่วยลดของเสียที่เป็นเศษผ้าประมาณร้อยละ 35 ซึ่งจะช่วยทำให้โรงงานตระหนักถึงความยั่งยืนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ทั้งนี้การพิมพ์สามมิติยังยกระดับแฟชั่นให้สูงขึ้นไปอีก เช่น ชุดแมงมุม (Spider Dress) ที่เหลือเชื่อของ Anouk Wipprecht ที่มีแขนกล ซึ่งจะเปลี่ยนตามระยะที่อยู่ใกล้คน ชุดที่พิมพ์สามมิตินี้ ผนวกเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ล้ำยุคเข้ากับแฟชั่นชั้นสูง เป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้งานอเนกประสงค์ของเทคโนโลยีใหม่นี้
หรือแม้กระทั่งการถักแบบดิจิทัล (digital knitting) ก็เป็นที่นิยมในโลกของการพิมพ์ 3 มิติ และเสนอความเป็นไปได้มากมายของการผลิตตามสั่ง ผู้ผลิต เช่น Shima Seika สามารถเปลี่ยนเส้นด้ายให้เป็นเสื้อผ้าทั้งชุดแบบไร้รอยต่อภายในเวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
6. บล็อคเชน (Blockchain)
บล็อกเชนเป็นเครื่องมือที่ดี มีความโปร่งใส ตรวจสอบย้อนกลับได้ และมีประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทาน โดยช่วยให้สมาชิก ตั้งแต่ซัพพลายเออร์ไปจนถึงนายธนาคาร สามารถเชื่อมโยงกันและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลดิบ และเอกสารโดยตรงอย่างปลอดภัย
ส่วนใหญ่บล็อกเชนใช้ในเทคโนโลยีบันทึกข้อมูล "บล็อก" บนบล็อกเชนทำจากชิ้นข้อมูลที่เป็นดิจิทัล ที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรม เช่น วัน เวลา และจำนวนเงินที่ใช้ซื้อล่าสุด และผู้ที่ร่วมทำธุรกรรม อย่างไรก็ตาม ยังเก็บข้อมูลที่ต่างจากบล็อกอื่นๆ โดยใช้รหัสเฉพาะเรียกว่า hash (กลไกในการแปลงข้อมูล) ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเสื้อผ้าและห่วงโซ่อุปทานผ่านเทคโนโลยี เช่น การติดตามและตรวจสอบย้อนกลับและการจัดการสินค้าคงคลัง
บล็อกเชนสร้างความเชื่อมโยงทางกายภาพ-ดิจิทัลระหว่างผลิตภัณฑ์และเอกลักษณ์ด้านดิจิทัลบนบล็อกเชน และเช่นเดียวกับเงินตราดิจิทัล บล็อกเชนมีการเข้ารหัสลับหรือชุดตัวเลขที่เป็นตัวระบุทางกายภาพที่เชื่อมโยงกลับไปยัง "แฝดดิจิทัล" (การจำลองวัตถุกายภาพให้เป็นวัตถุดิจิทัล) ของผลิตภัณฑ์
7. เทคโนโลยี Internet of things (IoT)
IoT อธิบายเครือข่ายของวัตถุ หรือ ‘things’ ที่ฝังตัวอยู่ในเทคโนโลยี ที่ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยน และการเชื่อมโยงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ที่น่าตื่นเต้นที่สุดในตลาดแฟชั่น ในแต่ละปี แฟชั่นประจำวันยังปรับปรุงไปเรื่อย ๆ เพื่อสะท้อนความจริงของชีวิตประจำวัน จากการเน้นความสบายโดยการใช้ผ้าใหม่ๆและน่าตื่นเต้น อุตสาหกรรมแฟชั่นต้องก้าวให้ทันการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิตร่วมสมัย ซึ่งเห็นได้ชัดเจนมากจากเทคโนโลยีเครื่องแต่งกายล้ำสมัยที่น่าตื่นเต้น ที่มีผลต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อื่นและร่างกายของเราเอง และให้ความหมายใหม่ของคำว่าสบาย
เสื้อผ้าอัจฉริยะ การออกแบบสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย และชุดกีฬาที่ตอบสนองความต้องการ ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จากการที่ชีวิตจริงผสมผสานกับชีวิตเสมือนจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ นักออกแบบหลายคนจึงได้ทำการทดลองและค้นหาขอบเขตของความหมายของคำว่าการสามารถสวมใส่ได้จริงในชีวิตประจำวัน
การขยายตัวทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วกระทบต่อธุรกิจหลายประการ Internet of Things (IoT) ช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ความปลอดภัย ความมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและผลิตภาพ ธุรกิจหลายแห่งพิจารณาใช้ IoT ในการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า โดยช่วยให้ลูกค้าแบ่งปันข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตกับธุรกิจเป็นประจำวัน ครอบคลุมเสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติดิจิทัล เช่น เสื้อผ้าอัจฉริยะ การออกแบบสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ชุดกีฬาที่ตอบสนองความต้องการ เป็นต้น
การพัฒนาใหม่ ๆ ที่พยายามปิดช่องว่างภายในตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยสุขภาพก็กำลังถือกำเนิดขึ้นในปีนี้ เช่น กางเกงสำหรับเล่นโยคะ NADI X ได้ใส่เซ็นเซอร์เข้าไปในกางเกง เพื่อปรับให้ท่าทางของผู้สวมใส่ดีขึ้น โดยจะสั่นสะเทือนพร้อมกับการเคลื่อนไหวไปกับท่าต่าง ๆ ของโยคะ
ตัวอย่างนวัตกรรมด้านIoT ที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด จะเกี่ยวกับ Hexoskin ที่ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจและอุณหภูมิ นอกจากนี้ ยังผลิตถุงเท้าที่นับแคลอรี และข้อมูลอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน ชุดพลังของ Fuseprojects ช่วยให้คนชราที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถเดิน ยืน และทำกิจกรรมได้นานขึ้น ข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับแพทย์และผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อที่จะช่วยผู้ป่วยได้
8. การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อการปรับตัวอย่างรวดเร็ว (Rapid Data Analysis for Quick Adaption)
การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อการปรับตัวอย่างรวดเร็ว เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น ห่วงโซ่อุปทาน โดยใช้ข้อมูลเป็นจำนวนมาก ในการสนับสนุนการปรับตัวดังกล่าว จากการที่ในปัจจุบันมีเครื่องมือซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ในตลาด แบรนด์และโรงงานต่าง ๆ จึงสามารถรับข้อมูลย้อนกลับและสัญญาณเตือนจากบริษัทได้อย่างเวลาจริง เมื่อพบสินค้ามีตำหนิหรือเสียหาย ซึ่งทำให้ช่วยประหยัดเงิน ลดของเสีย และส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้ทันเวลา อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้ามีความพอใจ จากการพบภัยคุกคามต่อธุรกิจอย่างทันถ่วงที
หนึ่งตัวอย่าง คือ ซอฟต์แวร์การจัดการของ IQMS (ปัจจุบัน คือ Delmia Works) ซึ่งซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนการจัดการ ( Enterprise resource planning หรือ ERP) ใช้ในการผลิต เพื่อติดตามและเก็บข้อมูลการผลิตตามเวลาจริง ในขณะที่กำลังผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีซอฟต์แวร์ประเภทอื่น เช่น การเกิดของ cloud computing ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้โรงงานและบริษัททำงานร่วมกันตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก และเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทำให้สื่อสารได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิผลมากขึ้น มูลค่าของการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวกับ cloud จะมากกว่า 11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2023 โดยเน้นความสำคัญในการเปลี่ยนไปใช้การจัดการข้อมูลที่รวดเร็ว
ในกรณีของการใช้ประโยชน์สูงสุดของการสื่อสารและการผลิตกับโรงงาน ซอฟต์แวร์ Techpacker ช่วยให้คล่องตัว และมีการติดตั้งระบบอัตโนมัติของขบวนการทั้งหมด ซอฟต์แวร์จาก cloud ทำให้ทุกคนในทีมออกแบบและโรงงานสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในซอฟต์แวร์ tech pack ตามเวลาจริง ซี่งกำจัดขั้นตอนการจัดทำคู่มือทั้งหมด และการส่งอีเมล์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้การสร้างซอฟต์แวร์ tech pack เร็วกว่าวิธีดั้งเดิมกว่าร้อยละ 70 ซึ่งแสดงในโปรแกรม Illustrator Plug-In ใหม่ ที่ใช้การออกแบบผ่านซอฟต์แวร์ cloud ภายในไม่กี่วินาที ซึ่งเป็นหัวใจของการส่งเสริมซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูลวงจรผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle Management หรือ PLM) ที่ทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืน ผ่านทางช่องทางจัดจำหน่ายต่าง ๆ ทั้งนี้ แอพ Techpacker ช่วยให้ทีมแฟชั่นและผู้ผลิตของตนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตามเวลาจริง
9. โปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์ออนไลน์ (Online vector editors)
โปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์ คือ เทมเพลทที่สร้างโดยนักออกแบบกราฟฟิกหรือนักออกแบบแฟชั่น เช่น Repsketch ที่นำเสนอเทมเพลทเสื้อผ้าหลากหลายให้เลือก มีรายละเอียดการออกแบบต่าง ๆ เช่น คอเสื้อ แขนเสื้อ และกระเป๋าต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ออกแบบเสื้อผ้าใหม่ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเริ่มจากการสเก็ตช์ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ส่งข้อมูล หรือแชร์ลิงค์สาธารณะของการออกแบบไปยังทั่วโลก ด้วย SVG (Scalable Vector Graphics) หรือภาพกราฟฟิกแบบเว็คเตอร์สองมิติที่เป็นมิตรต่อเว็บ
สำหรับโปรแกรมวาดรูป Adobe Illustrator ใหม่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ หากยังใหม่ต่อการออกแบบ ก็สามารถใช้ซอฟต์แวร์การออกแบบกราฟฟิกได้ หรือหากไม่สามารถเข้าถึงโปรแกรม Illustrator หรือ Sketch สิ่งที่ต้องการ คือ โปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์แบบง่าย มีโปรแกรมแก้ไขเวกเตอร์ออนไลน์ เช่น Vectr, Boxy SVG Editor และ Repsketch ที่สามารถเข้าถึงได้ไม่ว่าที่ใดจากเครื่องจักรใด
10. ความยั่งยืน (Sustainability)
หัวข้อนี้ไม่พูดไม่ได้เลยก็ว่าได้ ในอดีตแฟชั่นมักติดตามรูปแบบเดิมของฤดูกาลต่าง ๆ กล่าวคือ นักออกแบบจะนำเสนอเสื้อผ้าสำหรับฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว การออกแบบจะเปลี่ยนจากงานแสดงแฟชั่นไปยังหิ้งร้านอย่างรวดเร็ว ยักษ์ใหญ่ของวงการ fast fashion สามารถผลิตเสื้อผ้าเป็นคอลเลคชั่นเล็ก ๆ ถึง 52 คอลเลคชั่นต่อปี และเพื่อให้สามารถติดตามความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว แบรนด์ดั้งเดิมต้องติดตามและออกคอลเลคชั่น 11 คอลเลคชั่นต่อปี จากการผลิตอย่างรวดเร็วนี้เองที่ทำให้เกิดขยะแฟชั่นต่อปีมากมายมหาศาล และเป็นอุตสาหกรรมอันดับต้นๆที่ทำลายสิ่งแวดล้อม และจากปรากฏการสิ่งแวดล้อมที่แปรปรวน ก็ทำให้ผู้บริโภคและแบรนด์แฟชั่นกำลังหันไปสู่แนวคิดของ “slow fashion” ผลก็คือ แบรนด์หลายรายกำลังเลือกที่จะทำการผลิตอย่างยั่งยืนและผู้บริโภคกำลังเลือกแบรนด์ที่ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า fast fashion ทั้งนี้ จากข้อมูลของโปรแกรมค้นหาข้อมูลแฟชั่น Lyst พบว่า คิดเป็นร้อยละ 47 ของนักช้อปมองหาผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอย่างมีจริยธรรมและมีความยั่งยืน
ที่มา : www.thaitextile.org