เป็นได้จริงหรือ!? “รองเท้าผ้าใบอีโค่” จากใบไม้ ย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้เองตามธรรมชาติ
ภาพจาก:www.thaitextile.org
อย่างที่ทราบๆกันว่านอกเหนือจากเทรนของเมตะเวิร์สแล้ว อีกเทรนที่ไม่เคยส่างความนิยมและดูเหมือนจะได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆอย่าง “เทรนความยั่งยืน” ที่ผ่านมาเราก็นำเสนอบทความเกี่ยวกับเทรนนี้มาเนืองๆ ในบทความนี้จะขอพูดถึงรองเท้ากันบ้าง ในธีมของ “รองเท้าสีเขียว” ที่ไม่ใช่ รองเท้าที่เป็นสีเขียว แต่หมายถึงรองเท้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั่นเองค่ะ
ที่บอกว่าเป็นรองเท้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้นก็เพราะว่า มันถูกผลิตจากวัสดุที่มาจากพืชหรือวัสดุรีไซเคิล และเมื่อรองเท้าหมดอายุการใช้งานแล้วก็จะสามารถนำไปย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยให้กับพืชต่อไป เป็นไงคะว้าวไหม โดย ‘นวัตกรรมใหม่ของหนังทางเลือก นี้ได้รับการยืนยันจาก BESTSELLER ซึ่งได้ประกาศการลงทุนและความร่วมมือกับบริษัท VitroLabs ที่สามารถเพาะปลูกหนังเทียมจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของบริษัทฯ ได้ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ผ่านเซลล์ทดลองที่เพาะเลี้ยงจากสัตว์
และตอนนี้แฟชั่นเฮาส์ของประเทศเดนมาร์กได้ประกาศความร่วมมืออีกครั้ง - ซึ่งในครั้งนี้นักพัฒนาชาวอังกฤษอย่าง Biophilica กำลังพัฒนาวัสดุทางเลือกให้กับรองเท้าหนังด้วยวัสดุที่ชื่อว่า ‘Treekind’ ซึ่งวัสดุนวัตกรรมใหม่อันนี้ จะถูกนำไปผลิตเป็นสินค้าภายใต้แบรนด์เสื้อผ้าบุรุษอย่าง ‘JACK & JONES’
และถึงแม้ว่าปัจจุบันในท้องตลาดจะมีหนังทางเลือกจากพืชเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม แต่วัสดุส่วนใหญ่แลก็ยังมีส่วนประกอบที่ผลิตจากพลาสติกอยู่ดี โดยเฉพาะส่วนประกอบจากโพลียูรีเทน (PU) นั่นเอง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า วัสดุที่มีส่วนประกอบจากพลาสติกจะยังคงไม่สามารถรีไซเคิลได้ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันได้
หนังทางเลือกอย่าง ‘Treekind’ ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัทสตาร์ทอัพในกรุงลอนดอนอย่าง Biophilica ซึ่งไม่มีส่วนผสมของพลาสติก แต่มีส่วนผสมของลิกโนเซลลูโลส (lignocellulose) จากใบไม้และสารยึดเกาะตามธรรมชาติ พร้อมถูกออกแบบมาให้สามารถสลายตัวได้ในดินหรือในน้ำ โดยจะเป็นการสร้างกระบวนการรีไซเคิลให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุจากการใช้งาน เมื่อถูกทิ้งก็จะสลายกลายเป็นปุ๋ยกลับคืนสู่ธรรมชาติในที่สุด
อย่างไรก็ตามแม้จะไม่เป็นวัสดุจากธรรมชาติแบบ ร้อยเปอร์เซ็น แต่ก็ถือเป็นก้าวของการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องหนัง และแฟชั่นให้ขึ้นไปอีกระดับ และเชื่อว่าในอนาคต อาจจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนได้มากขึ้นเรื่อยๆอย่างแน่นอน
ที่มา : www.thaitextile.org