แนะนำเส้นใยทางเลือกนวัตกรรมแห่งความยั่งยืน
ภาพจาก pixabay.com โดย webandi
เนื่องจากสภาวะแปรปรวนของโลกที่เกิดจากผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่ทำให้ทั่วโลกต่างตระหนักและให้ความสนใจถึงความยั่งยืนมากขึ้น หลายองกร หลายภาคส่วนทั่วโลกต่างคิดค้นและพัฒนาสินค้าและบริการของตนให้ตอบโจทย์แนวคิดนี้มากขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น ที่ถูกมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษมากที่สุดอตุสาหกรรมหนึ่ง ทั้งการใช้น้ำปริมาณมหาศาลตลอดจนเคมีภัณฑ์ต่างๆที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รองจาก
ซึ่งทำให้หลายต่อหลายแบรนด์ตระหนักในสิ่งนี้และหันมาเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อให้ตอบโจทย์เทรนด์โลก และ ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งนี้นวัตรกรรมเส้นใยทางเลือกใหม่ๆที่ก็มีหลากหลายมากขึ้น ซึ่งครั้งนี้เราก็มีมาแนะนำเพื่อเป็นทางเลือกให้กันด้วยค่ะ
นวัตกรรมเส้นใย
Orange Fiber
ภาพจาก thefashionstarter.com
เส้นใยส้มนั้นเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ โดยแต่ละปีมีเปลือกและกากส้มเหลือทิ้งหลังคั้นน้ำแล้วราว 7 แสนตันเฉพาะในอิตาลี โดยเริ่มต้นมาจากจากวิทยานิพนธ์สมัยเรียนมหาวิทยาลัยของ เอเดรียนา ซานตาโนซิโต ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งออเรนจ์ไฟเบอร์ บริษัทสตาร์ทอัพผู้บุกเบิกการผลิตสิ่งทอจากเส้นใยเซลลูโลสธรรมชาติ ซึ่งAdriana Santanocito และ Enrica Arena สองผู้ก่อตั้งบริษัท Orange Fiber กล่าวว่า “ผ้าของเรามีกระบวนการทอเหมือนผ้าใยเซลลูโลสที่สามารถนำไปผสมกับเส้นใยชนิดอื่นได้” เส้นใยชนิดนี้เป็นเส้นใยที่มีผิวสัมผัสนุ่มลื่นเหมาะสมแก่การนำมาทำเป็นเสื้อผ้า เส้นใยส้มมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับวิสโคสเรยอนสามารถผสมกับเส้นใยไหมและเส้นใยฝ้ายได้
ทั้งนี้นักออกแบบชื่อดัง Salvatore Ferragamo ได้สร้างสรรค์เสื้อผ้าคอลเลกชั่นพิเศษชื่อ Capsule ออกมาวางขายสำหรับฤดูกาล Spring/Summer 2017 โดยใช้นวัตกรรมของออเรนจ์ไฟเบอร์มาผสมผสานกับมรดกทางแฟชั่นอันเก่าแก่ของอิตาลีอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามนวัตรกรรมนี้ยังคงต้นทุนสูงในการผลิตอยู่ทำให้ราคาสินค้าอาจจะสูงตาม แต่อย่างไรก็แล้วแต่นับว่าสิ่งนี้ก็เป็นก้าวของความยั่งยืนที่น่าสนใจ
Recycled Crop Waste (Agraloop)
ภาพจาก thefashionstarter.com
Agraloop เป็นระบบรีไซเคิลที่ดำเนินการโดย Circular Systems เพราะเป็นการผสมผสานกันระหว่างเส้นใยรีไซเคิล วัสดุชีวภาพ กระดาษแข็งจากบรรจุภัณฑ์ ปุ๋ยอินทรีย์ และสิ่งที่ได้รับการประเมินว่าเป็นของเน่าเสีย ของที่ไม่มีประสิทธิภาพแล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อคัดแยกให้ได้วัสดุธรรมชาติที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่จากขยะและของเสีย และ Agraloop ทำงานกับพืชผลที่นำกลับมาใช้ใหม่และของเสียจากพืช โดยเฉพาะกัญชา ลินิน สับปะรด ต้นกล้วย อ้อย และข้าว เพียงพืชทั้งหกชนิดนี้สามารถผลิตเส้นใยได้ 250 ล้านตัน ตัวเลขนี้สอดคล้องกับความต้องการทั่วโลก 2.5 เท่า ของการรีไซเคิลของเสีย การลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและการจัดหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตรกรรมที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน แบบสุดๆ
นวัตรกรรมหนังเทียม
Pinatex
ภาพจาก thefashionstarter.com
Pinatex (พีนาเท็กซ์) ทำจากเส้นใยเซลลูโลสที่สกัดจากใบสับปะรด Pineapple Fiber ถูกพัฒนาขึ้นโดย Dr Carmen Hijosa นักออกแบบหญิงชาวสเปนและเจ้าของธุรกิจเครื่องหนังที่มีบริษัทในประเทศไอร์แลนด์ นอกจากนี้ เธอยังรับบทบาทเป็นที่ปรึกษาด้านผลิตภัณฑ์ที่ประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงทศวรรษที่ 1990 อีกด้วย โดยเริ่มต้นมาจากการที่ Dr Carmen เล็งเห็นว่า คุณภาพหนังที่ผลิตไปจนถึงคุณภาพชีวิต ของผู้คนในอุตสาหกรรมนี้ในประเทศ มีสภาพย่ำแย่และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดแนวคิดนี้ขึ้น โดย Dr Carmen ได้แรงบันดาลใจจากชุดประจำท้องถิ่นชื่อว่า “บารอง ตาการ็อก” (Barong tagalog) ซึ่งนิยมผลิตจากเส้นใยสับปะรด นอกจากนี้ เธอยังสังเกตุว่า ที่ฟิลิปปินส์ปลูกต้นสับปะรดเยอะมาก และมีใบสับปะรดจำนวนไม่น้อยที่จะถูกทิ้งไปอย่างเสียเปล่า เธอจึงเกิดไอเดีย ลงมือพัฒนาวิจัยการแปรรูปเส้นใยสัปปะรัดเป็นเวลากว่า 7 ปี ซึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของพีนาเท็กซ์อยู่ที่ความนุ่มนวล ความแข็งแรงคงทน และความยืดหยุ่นสูง จึงสามารถใช้เทียมเท่าหนังสัตว์ได้ เส้นใยสับปะรดถูกใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าโดยแบรนด์และนักออกแบบที่มีชื่อเสียงมากมาย รวมถึง Liselore Frowijn, Hugo Boss, H&M และ Trussardi Pinatex ยังนำเสนอการใช้งานที่หลากหลายในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เสริม เช่น สายนาฬิกา ที่ใส่นามบัตร รองเท้า กระเป๋า และแม้กระทั่งเคสโน๊ตบุ๊ค
Grape Fiber (Vegea)
ภาพจาก thefashionstarter.com
Vegea เป็นสิ่งทอเครื่องหนังยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นจากการผสมผสานของเปลือกองุ่น ก้าน และเมล็ด ซึ่งถือเป็นของเสียในการผลิตไวน์ โดยการกำหนดเป้าหมายการผลิตสิ่งทอด้วยการประเมินจากเศษอาหาร และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสัตว์ด้วย ของเสียที่รวมกันจะถูกทำให้แห้งก่อนแล้วจึงรวมเข้ากับขั้นตอนการประมวลผลที่เหมาะสม ผลลัพธ์ที่ได้คือผลิตภัณฑ์สิ่งทอไม่เพียงแต่ใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเท่านั้น แต่ยังใช้ในหลายอุตสาหกรรมตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ไปจนถึงยานยนต์ด้วย
วัสดุตกแต่ง
Potato Fiber (Parblex)
ภาพจาก thefashionstarter.com
เป็นวัสดุพลาสติกชีวภาพที่ได้จากมันฝรั่งและเปลือก ได้รับการพัฒนาโดย Parblex Company ถึงแม้ว่า เส้นใยที่ได้จากมันฝรั่งจะสามารถใช้เป็นวัสดุพื้นผิวภายในอาคาร แต่ก็สามารถใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าได้เช่นกัน อย่างกระดุมและเครื่องตกแต่งต่าง ๆ เป็นการนำหลักการ Zero-Waste มาใช้ในกระบวนการผลิต นอกเหนือจากวัสดุที่ใช้หรือการเตรียมการผลิตบางอย่างใน Parblex จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการประเมินซ้ำ อายุการใช้งานของวัสดุ Parblex คือ 1-5 ปี
ที่มา :
นวัตกรรมเส้นใยแห่งความยั่งยืนที่คุณควรรู้จัก
Sustainable and innovative fibers you should know
Meet BOSS 100% Vegan Sneakers: ทำความรู้จักกับรองเท้ารักษ์โลกดีไซน์เก๋ ผลิตจากเส้นใยสับปะรด 100%
แฟชั่นยุคใหม่ต้องรักโลก! รวมผ้า 6 ชนิดที่ทำจากผักผลไม้
ใยผ้าจากผลส้ม แฟชั่น (หรู) เพื่อความยั่งยืน