7 เส้นใยธรรมชาติ ตัวเลือกดีดีในการผลิตสินค้า Green product
ในยุคที่กระแสสินค้า Green product กำลังได้รับความนิยมแบบนี้ ผู้ประกอบการหลายท่านกำลังมองหา ตัวเลือกดีดีในการผลิตสินค้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ากันอยู่ใช่ไหมล่ะคะ ซึ่งครั้งนี้เราก็มีเส้นใยธรรมชาติมาแนะนำกันถึง 7 ชนิดด้วยกัน เผื่อว่าจะพอเป็นตัวเลือกและเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้กับผู้ผลิตที่กำลังเลือกวตถุดิบที่ตรงตามสเปคสินค้ากันบ้าง แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติอย่างไรไปทำความรู้จักพร้อมๆกันเลยค่ะ
ผ้าใยกัญชง
|
||||
![]() |
“กัญชง” เป็นไม้ล้มลุกมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกัญชา แตกต่างกัน คือ ต่อมน้ำมันของกัญชงมีน้อยกว่ากัญชา จัดอยู่ในพืชซึ่งให้ประโยชน์หลักทางด้านสิ่งทอเป็นสำคัญการปลูกกัญชงให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกฝ้าย เส้นใยจากธรรมชาติกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น | |||
“ผ้าใยกัญชง” มีลักษณะคล้ายผ้าที่ทอจากใยแฟลกซ์ เส้นใยมีสีเหลืองนวล มีความเหนียว ยืดหยุ่นและทนทาน เนื้อผ้ามีน้ำหนัก ทิ้งตัว เมื่อรีดจะเรียบและมันวาวเล็กน้อย แม้จะยับง่ายแต่ก็คงทน ยิ่งใช้ไปนานยิ่งสวย สวมใส่สบายไม่ร้อน ให้ความอบอุ่นได้ดีในฤดูหนาว | ||||
จึงสวมใส่ได้ทุกฤดูกาล มีความสามารถในการดูดซับความชื้นได้ดี ทนต่อแมลง ทนต่อด่างอ่อนและกรดอ่อนได้ดี ทนต่อสารซักล้างและสารฟอกขาว ทนต่อรังสี UV ทำให้ไม่เปลี่ยนสีแม้จะตากแดดเป็นเวลานาน | ||||
ดูดน้ำดีและเร็ว ความคงทนทำให้ผ้าใยกัญชงเหมาะสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เป็นต้น |
ผ้าใยสับปะรด
|
|
![]() |
|||
เส้นใยจากใบสับปะรดสามารถนำมาถักทอเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มากมาย สับปะรดที่นำมาใช้ในการผลิตเส้นใยเพื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอนั้น มีอายุ 1.0 -1.5 ปี เนื่องจากถ้าใบอ่อนไปเส้นใยที่ได้ก็สั้นและไม่แข็งแรงทนทาน ส่วนใบที่แก่เกินไปก็จะหยาบและแข็ง ลักษณะโดยรวมของเส้นใยสับปะรด เป็นเส้นใยละเอียด มีพื้นผิวเส้นใยค่อนข้างเรียบทำให้มีสามารถปั่นเป็นเส้นด้ายเองด้วยกรรมวิธีแบบการปั่นด้าย และสามารถนำไปปั่นร่วมกับเส้นใยอื่นได้ เช่น เส้นใยฝ้าย เส้นใยลินิน ความสมํ่าเสมอของเส้นใยมีค่อนข้างสูง ทำให้เส้นด้ายที่ได้มีความนุ่มกว่าเส้นใยสับปะรดเดี่ยว | |||||
“ผ้าใยสับปะรด” มีความมันวาว ทนทานต่อการหักพับ และมีความคงทนสูง แต่มีความกระด้างกว่าฝ้ายเล็กน้อย มีความคงทนต่อกรดอ่อนและด่าง ทนทานต่อรังสี UV ทนทานต่อเชื้อจุลินทรีย์ และแมลงมาก |
![]() |
ผ้าใยไผ่
|
|
|
“ไผ่” เป็นไม้พุ่มหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์หญ้า เป็นต้นไม้ที่โตเร็วที่สุดในโลก ในภาวะที่สมบูรณ์สามารถสูงขึ้นได้ถึงวันละ 1 เมตร ช่วยดูดคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าต้นไม้ชนิดอื่นๆ และผลิตออกซิเจนได้มากกว่าต้นไม้อื่นๆ ถึง 35% ในประเทศไทยมีพบไผ่ประมาณ 30 ชนิด การแยก “เส้นใยไผ่” ธรรมชาติ สามารถทำได้ทั้งแบบต้มและด้วยกระบวนการระเบิดด้วยไอน้ำ การแยกเส้นใยแบบต้ม สามารถแยกเส้นใยไผ่ได้เป็นเส้นอ่อนนุ่ม ซึ่งเส้นใยดังกล่าวสามารถนำไปปั่นเป็นด้ายร่วมกับเส้นใยฝ้ายได้ สำหรับกระบวนการระเบิดด้วยไอน้ำนั้น เริ่มจากการต้มลำไผ่ชั้นในที่แยกเปลือกแล้วด้วยอุณหภูมิ 192 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นปลดปล่อยแรงดันไอน้ำแบบทันทีเพื่อให้ไม้ไผ่แตกตัวออกเป็นเส้นใยแล้วนำมาปั่นเป็นด้าย พบว่าการแยกเส้นใยไผ่แบบนี้ให้เส้นใยที่มีคุณภาพดี และเส้นใยยังคงประสิทธิภาพของการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีอีกด้วย | |||
“ผ้าใยไผ่” มีคุณสมบัติใส่นุ่มสบาย มีความมันวาวนิดๆ คล้ายไหม เส้นใยโปร่งระบายอากาศได้ดี ที่สำคัญสามารถต้านการเจริญของแบคทีเรียได้ดีมาก |
ผ้าใยบัว
|
![]() |
||
“ผ้าใยบัว” ลักษณะของก้านดอกบัวซึ่งมีช่องอากาศขนาดใหญ่ 7-8 ช่อง เรียงเป็นวงรอบ และช่องอากาศกลางก้านขนาดเล็ก 1 คู่ ซึ่งเซลล์ชั้นนอกสุดจะสะสมน้ำยางสีขาวขุ่น และจะกลายเป็นเส้นใยเมื่อโดนอากาศ | |||
วิธีการทอ “ผ้าใยบัว” นั้น ใช้การทอมือทั้งหมด โดยดึงเอาเส้นใยจากก้านดอกบัวด้วยมือ นำเส้นใยที่ได้มาล้าง ตากแห้ง แล้วนำมาปั่นเป็นเส้นด้ายและนำมาทอเป็นผืนผ้า ผ้าใยบัวมีคุณสมบัติคล้ายกับผ้าลินินผสมกับผ้าไหม จุดเด่นคือบางเบาใส่สบายและระบายความร้อนได้ดี เพราะเนื้อผ้ามีรูขนาดจิ๋วนับล้านคล้ายกับฟองน้ำ ปรับอุณหภูมิให้ต่างกับสภาพอากาศได้ | |||
โดยในยามที่อากาศเย็นจะทำให้อุ่น และถ้าอากาศร้อนเมื่อสวมใส่จะรู้สึกเย็นสบาย ที่สำคัญคือเนื้อผ้าไม่ยับง่าย มีคุณสมบัติกันน้ำและคราบสกปรกได้เช่นกันกับใบบัว ผ้าชนิดนี้จึงนับเป็นนวัตกรรมใหม่ของผ้ากันน้ำที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ |
![]() |
ผ้าใยผักตบชวา
|
|
“ผักตบชวา” จัดเป็น “เอเลี่ยน สปีชี่ส์” หรือ “ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น” แพร่ระบาดรุกรานซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบ นิเวศน์ในห้วยน้ำ ลำคลอง จากมีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ได้กลายเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข ในปัจจุบันได้มีการนำไปผลิตเป็นของใช้ อาหารสัตว์ ทำปุ๋ย ผ้า เครื่องจักรสานมากมาย และแปรรูปเป็นวัสดุที่สามารถนำไปใช้ได้มากขึ้น | ||
การนำผักตบชวามาทำเป็นเส้นใยผ้านั้น ภายหลังล้างทำความสะอาดแล้วผ่าจากกลางต้นจากโคนไปหาปลาย และทำให้แห้งโดยการ ตากแดดจนกว่าจะแห้งสนิทจึงนำไปตีเกลียวเส้นด้ายด้วยเครื่องตีเกลียวต้น แบบ ที่เพิ่มความยาวของเส้นใยได้ตามต้องการ แล้วเข้าสู่กระบวนการทอเป็นผ้าผืน |
ผ้าใยกล้วย
|
![]() |
|
“กล้วย” พืชท้องถิ่นประจำบ้านของใครหลายคน มีบทบาทในชีวิตประจำวัน ของผู้คนเป็นจำนวนมากเส้นใย “เส้นใยกล้วย” มีสมบัติพิเศษคือ เป็น เส้นที่มีความมันเงาสวยงาม แข็งแรง เหนียว ทนทาน สามารถนาไปปั่นผสมกับเส้นใยอื่นๆ เช่นใยฝ้าย ที่มีความคุณสมบัติโดดเด่นเรื่องการระบายอากาศและอ่อนนุ่ม การผลิตเส้นใยกล้วยเป็นการนำเอากาบกล้วยจากบริเวณลำต้นมาพัฒนาเป็นเส้นใย กระบวนการผลิตจะนำกาบกล้วยที่ได้มาเข้าเครื่องขูดเนื้อเยื่อกาบกล้วย เพื่อนำเส้นใยไป ผ่านกระบวนการทางเคมีสิ่งทอ หลังจากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตเป็นเส้นด้ายแล้วนำไปทอเป็นผืนผ้าต่อไป |
||
![]() |
ผ้าใยข่า
|
|
“ข่า” เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชีย มีปลูกมากในแถบประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ข่ามีอยู่หลายพันธ์ แต่ที่ใช้บริโภคกันมากคือ ข่าหยวกหรือข่าหลวง และข่าใหญ่ เส้นใยข่าพัฒนามาจากส่วนของลำต้นบนดิน ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากการนำเหง้าไปใช้ | ||
ในการนำลำต้นข่ามาผลิตเป็น “เส้นใยข่า” นั้น จะเริ่มจากกระบวนการแยกเส้นใยด้วยการนำลำต้นข่ามาเข้าเครื่องบดนวด เพื่อทำให้ต้นข่าแตกออกจากกัน จากนั้นจะมีการปรับให้เส้นใยมีความนุ่มขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่กระบวนการการผลิตเส้นด้าย เส้นใยข่าจะถูกนำเข้าเครื่องสางเส้นใย เพื่อทำให้เส้นใยกระจายตัว มีการเรียงตัวที่ดีและสะอาดขึ้น และนำเส้นใยไปผสมรวมกับวัตถุดิบเส้นใยชนิดอื่นๆ เช่น ฝ้าย (Cotton) โดยใช้ส่วนผสมระหว่างใยข่ากับใยฝ้ายในอัตราส่วน 20:80 ก็จะได้ออกมาเป็น “ผ้าใยข่า“ |
เป็นอย่างไรกันบ้างคะแต่ละชนิด บางอย่างหลายท่านก็ไม่คุ้นหูใช่ไหมล่ะคะ อย่างไรก็ลองตัสินใจเลือกกันดูนะคะว่าแบบไหนที่คุณกำลังมองหา หวังว่าบทความที่นำมาฝากกันวันนี้จะเป็นปนะโยชน์ให้ผู้อ่านได้บ้างนะคะแต่ถ้าใครยังไม่ถูกใจยังมีเส้นใยจากเปลือกไม้ที่เราเคยนำมาฝากกันด้วยเหมือนกันนะคะ ใครสนใจก็สามารถคลิกลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
ที่มา : taktaibrand.com
กลับไปหน้าหมวดบทความนี้ Learning your work
ดูบทความของ Garment Job ทั้งหมด