ทำความเข้าใจ ระเบียบการนำเข้า - ส่งออกสินค้าจากจระเข้
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเพาะเลี้ยงจระเข้จำนวนมาก ทั้งเพื่อการค้า เพื่อการจัดแสดง หรือแม้แต่เป็นสัตว์เลี้ยง เนื่องจากจระเข้เป็นสัตว์ชนิดที่สามารถนำอวัยวะมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากหนังจระเข้ของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับ และต้องการของตลาดระหว่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งวันนี้เราก็เลยมีข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์จระเข้มาแชร์กันค่ะ
การส่งออกและการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์จระเข้ อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎระเบียบระหว่างประเทศของหน่วยงาน Convention of International Trade in Endangered Species – CITES และภายใต้กฎหมายของสหรัฐฯคือ Endangered Species Act (ESA) และ Lacey Act (ห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ได้มาหรือส่งออกอย่างผิดกฎหมายจากประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า)
![]() |
หน่วยงาน U.S. Fish & Wildlife Service (FWS) ทำหน้าที่ควบคุมการค้าสินค้าผลิตภัณฑ์จากจระเข้ ระบุห้ามนำเข้าเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าจระเข้ในตระกูล “Crocodylidae” ที่มีชื่ออยู่ใน Appendix I ของ CITES และในกฎระเบียบการนำเข้าแยกตามประเภทสายพันธุ์จระเข้ (U.S. Regulation of Crocodilians Under CITES and the ESP) ระบุว่าจระเข้สายพันธุ์ Crocodylus siamensis ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เลี้ยงกันมากที่สุดในประเทศไทยว่าเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธ์ (endangered) และห้ามนำเข้าสหรัฐฯเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า กฎระเบียบนนี้ FWS กระทำไว้ตั้งแต่ปี ๑๙๗๖ และยังไม่เคยมีการยื่นคำร้องขอให้มีการแก้ไขให้ทันสมัยแต่อย่างใด ส่งผลให้จระเข้ไทยยังคงไม่สามารถถูกนำเข้าไปยังประเทศสหรัฐฯได้ |
ปัจจุบันสหรัฐฯอนุญาตการนำเข้าหนังจระเข้เฉพาะที่เป็น Alligator mississipiensis, Crocodylus novaeguineae novaeguineae (จระเข้นิวกีนี), C. porosus (จากปาปัวนิวกินี), Caiman crocodiles, dwarf Caiman Paleosuchus palpebrosus, Schneider’s Smooth-fronted Caiman P. trigonatus, C. niloticus (เฉพาะจาก Zimbabwean) Nile crocodile (Crocodylus niloticus ถูกระบุไว้ใน Appendix II ของ CITES) และ Australian crocodile (c. porosus ถูก ESA – Endangered Species Act- ระบุว่าเป็นสัตว์ถูกคุกคามอันตราย – threatended) การนำเข้าจะต้องกระทำภายใต้กฎระเบียบต่างๆที่มีกำหนดไว้สำหรับแต่ละประเภทของจระเข้ เช่นอาจจะต้องมีใบอนุญาตการค้าจาก CITES หรือใบอนุญาตนำเข้าจากหน่วยงาน U.S. Fish and Wildlife Service หรือใบอนุญาตส่งออกจากประเทศต้นสังกัดสินค้า เป็นต้น
ที่มา : thaitradeusa.com